หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

– การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
– สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
– หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
– ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
– การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
– ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

            นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน

การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

ที่มา:http://www.thaimaster.info/pornpilai/wannisa/asean/asean_info.html#2

วัตถุประสงค์หลักของอาเซียน

 

วัตถุประสงค์หลัก

                      ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
และองค์การระหว่างประเทศ

           ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง

ที่มา:http://www.thaimaster.info/pornpilai/wannisa/asean/asean_info.html#2

ความเป็นมาของอาเซียน

 

    พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน       
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ
   

           ที่มา:http://www.thaimaster.info/pornpilai/wannisa/asean/asean_info.html

สกุลเงินประจำชาติประเทศสมาชิกอาเซียน

1.ประเทศอินโดนีเซีย     สกุลเงินของประเทศอินโดนีเซียเป็นสกุลเงิน  รูเปียห์ (Rupiah) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 8,900 – 9,030 รูเปียห์ สกุลเงินรูเปียห์ (Rupiah) 1,000 รูเปียร์ (IDR)แลกเป็นเงินไทย อยู่ที่ 3.6819 บาท (25.9.53)

2. ประเทศมาเลเซีย เงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย คือ ริงกิตมาเลเซีย (RM) ดอลลาร์มาเลเซียแบ่งเป็น 100 เซ็น อัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐ   คือ  RM 3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ11.1904 บาท = 1 ริงกิต

3.ประเทศสิงค์โปร์   ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นสกุลเงินของประเทศสิงคโปร์ดอลลาร์สหรัฐแลกได้ประมาณ 1.25 ดอลลาร์สิงคโปร์ 24.6159 บาท = 1 ดอลลาร์สิงคโปร์

4.ประเทศฟิลิปปินส์ สกุลเงิน Philippine peso เงินเปโซของฟิลิปปินส์ (PHP)1 ดอลลาร์สหรัฐแลกได้ประมาณ 42.75 เปโซ่   0.7463 บาท = 1 เปโซฟิลิปปินส์

5.ประเทศไทย เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB)เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย  30.25 บาท = 1 ดอลลาร์สหรัฐ

 

6.ประเทศบรูไน ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 / 1 ดอลลาร์สหรัฐ  หรือ ประมาณ23.98 บาท / 1 ดอลลาร์บรูไน บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไน มีมูลค่าเท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์ และสามารถใช้แทนกันได้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ 23.95บาท   / 1 ดอลลาร์สิงคโปร์

 

7.ประเทศเวียดนาม ด่ง เวียดนาม คือหน่วยเงินของเวียดนามที่ใช้ในประเทศเวียดนามอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 400-500 ด่งต่อบาทหรือ ประมาณ 16,000 ด่งต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

อ่านเพิ่มเติม

คำขวัญอาเซียน

                                                     คำขวัญของอาเซียน
                                    “One Vision, One Identity, One Community”
“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”

ที่มา:http://61.7.221.113/Asianroom/th/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=55

เพลงประจำอาเซียน

The ASEAN Way

Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it’s the way of ASEAN

โดยมีคำแปลว่า

ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน

และเนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล

10ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

 

                                ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

 

                          ดอก Simpor เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม

 

                      ดอกลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา

 

                      ดอกกล้วยไม้ราตรี เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

             ลีลาวดี เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

                        Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย

                               Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า

อ่านเพิ่มเติม

10 ชุดประจำชาติอาเซียน

 

1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย
สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สำหรับชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว

 

2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม
อ่าวหญ่าย
 เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ

3. ชุดประชาติของประเทศพม่า
ลองยี
 เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่

 

                                              4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน
สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

 

                                              5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว
ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

 

                                        6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย
เคบาย่า
 (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติกสำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวและนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด

 

                                          7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก

อ่านเพิ่มเติม

อาหารอาเซียน10ประเทศ

 

ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)

 

พม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet)

 

สิงคโปร์ (Singapore) : ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ)

 

ฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)

 

เวียดนาม (Vietnam) : Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม

 

มาเลเซีย (Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)

อ่านเพิ่มเติม

ธงชาติอาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
  • ที่มา:http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/06.html